วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เกร็ดประวัติแม่นางกวัก:ปฐมกำเนิดแม่นางกวัก

ปฐมกำเนิดแม่นางกวัก


คำว่า นางกวัก เป็นชื่อเรียกกันแบบสะดวกและง่ายๆตามความเข้าใจที่รู้กันทั่วๆไป หมายถึง รูปปั้นหรือสัญลักษณ์ตัวแทนของสตรี ผู้มีฤทธิ์อานุภาพและความขลังสูงพิเศษ ในการดึงดูดจิตใจของคนทั่วๆปให้มาซื้อสินค้าในร้านและห้างของตนนั่นเอง ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจการค้าทั้งน้อยและค้าใหญ่นิยมอัญเชิญมาสถิตอยู่ในร้านค้าของตน เพื่อเซ่นสรวง บูชา อธิษฐาน ให้การประกอบธุรกิจคล่องตัว ได้ผล ได้กำไร ร่ำรวยกันอย่างแพร่หลาย และก็ประสบความสำเร็จตามที่อธิษฐานกันแทบทั่วหน้า


โอกาสนี้จึงขอนำประวัติ หรือตำนาน หรือ เกร็ดความรู้ ที่เกี่ยวกับเรื่องราวและอิทธิของแม่นางกวัก ซึ่งถือว่ามีความสำคัญในการดลบันดาลให้กิจการค้าของพ่อค้าแม่ค้า มีลูกค้าเพิ่มขึ้นและดำเนินไปสู่ความมั่งคั่งร่ำรวยได้ หากในห้างร้านของตนมีรูปแม่นางกวักสถิตอยู่ ตามที่ผู้รู้ในการก่อนได้บันทึกไว้ มาแสดงให้ท่านที่สนใจได้รับทราบประดับความรู้ เพิ่มความศรัทธาให้มั่นคงแต่พอสังเขปเป็นลำดับไป


เมื่อ 2500 กว่าปีล่วงมาแล้ว สมัยตอนต้นของพระพุทธศาสนา ได้มีเมืองๆหนึ่งชื่อ มิจฉิกาสัณฑนคร ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ไม่ไกลจากนครสาวัตถีประเทศอินเดียเท่าใดนัก 


ณ เมืองนี้เองมีสามีภรรยาที่เลี้ยงชีพด้วยการหาซื้อสินค้าต่างๆมาเสนอขายแก่เพื่อนบ้านอยู่ครอบครัวหนึ่ง หัวหน้าครอบครัวชื่อสุจิตตพราหมณ์ ภรรยาชื่อสุมณฑา สองสามีภรรยามีบุตรสาวอยู่คนหนึ่งชื่อสุภาวดี 

ผลของการประกอบธุรกิจทางการค้าขายของเล็กน้อยช่วยให้ครอบครัวดำรงอยู่ได้ ไม่ฝืดเคืองเดือดร้อนเรื่องปัจจัย 4 ซึ่งมีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันเช่นบางครอบครัว


ต่อมาสุจิตตพราหมณ์ได้ซื้อเกวียนมา 1 เล่ม นำสินค้าบรรทุกเกวียนไปเร่ขายและขายส่งในต่างถิ่นเป็นการเปิดกตลาดเป็นกรณีพิเศษ ในการนำสินค้าไปจำหน่ายแต่ละครั้ง บางเที่ยวบุตรสาวได้ขอติดเกวียนไปกับบิดาด้วย เพื่อศึกษาหาประสบการณ์และชมภูมิประเทศให้เกิดความเพลิดเพลินตามประสาเด็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น